menu
chevron_right
เด่น โดน ดัง
กรมชลเดินหน้าเพิ่มศักยภาพส่งน้ำสามชุกมั่นใจแก้แล้ง-ท่วม เพิ่มพื้นที่เพาะปลูก 1.5 แสนไร่

กรมชลฯ จัดประชุมปัจฉิมนิเทศเดินหน้าปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก มั่นใจแก้น้ำแล้ง-น้ำท่วมให้ชาวสุพรรณบุรี เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกกว่า 1.5 แสนไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ตั้งเป้ายกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนLINE_ALBUM_โครงการส่งน้ำฯสามชุก 16 ก.ย.67_240920_1


วันที่ 16 กันยายน 2567 นายประทีป การมิตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายบุญฤทธิ์ จำปาเงิน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก กรมชลประทาน กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมชลประทาน บริษัทที่ปรึกษา ตัวแทนองค์กรผู้ใช้น้ำ (JMC) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 สำนักงานสหกรณ์การเกษตรสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

นายประทีป การมิตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก อยู่ในลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปี 2507 มีอายุการใช้งานกว่า 50 ปี ทำให้ระบบชลประทานมีประสิทธิภาพการใช้งานลดลง บางแห่งชำรุดเสียหาย แม้ว่าจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้บางส่วน แต่ก็ยังไม่สามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดังเดิม ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตรต้องใช้น้ำมาก ดังนั้น โครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการปรับปรุงส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุกถือว่ามีประโยชน์มาก หากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ ก็จะช่วยลดการสูญเสียน้ำได้เป็นอย่างมาก และสามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมได้ ทำให้เพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมจากปัจจุบัน 331,189 ไร่ เป็น 490,556 ไร่ ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งได้ หากมีน้ำหลากก็สามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้น328794


โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุกมีพื้นที่ชลประทาน 320,569 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก อำเภอดอนเจดีย์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง กรมชลประทานได้วางแผนปรับปรุงโครงการให้มีความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำและการระบายน้ำ บรรเทาปัญหาการขาดเเคลนน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมไปถึงการบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

การปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุกก็ต้องขอชื่นชมกรมชลประทานที่ได้ทำการศึกษาความเหมาะสม ซึ่งการประชุมปัจฉิมนิเทศในครั้งนี้ จะทำให้พี่น้องประชาชน รวมถึงเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ถ้าโครงการนี้แล้วเสร็จ ก็ถือว่าเป็นสมบัติของพี่น้องประชาชน จึงอยากฝากให้ช่วยกันดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็จะต้องมีแหล่งน้ำเป็นของตัวเอง หรือมีบ่อน้ำตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าหากพี่น้องประชาชนนำสิ่งต่าง ๆ มาปรับใช้ ก็เชื่อว่าจะมีแต่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” นายประทีป กล่าวทิ้งท้าย
LINE_ALBUM_โครงการส่งน้ำฯสามชุก 16 ก.ย.67_240920_4

ขณะที่นายบุญฤทธิ์ จำปาเงิน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก กล่าวภายหลังการนำคณะสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทาน พบว่า หลังจากกรมชลประทานมอบหมายให้บริษัท วายพี คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท สยาม-เทค กรุ๊ป จำกัด บริษัท เอสพีที คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ซีพีเอส ซัลเซล จำกัด ดำเนินการศึกษาโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2566 ได้เปิดเวทีชี้แจงผลการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่หอประชุมสหกรณ์การเกษตรสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วเสร็จ นั้นได้ข้อสรุปแผนงานปรับปรุงโครงการที่สำคัญ ประกอบด้วย แผนการปรับปรุงระบบคลองส่งน้ำและระบบคลองระบายน้ำ โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมสถานีสูบน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ ทั้ง 3 สาย ปรับปรุงและซ่อมแซมคลองส่งน้ำ 171.17 กิโลเมตร สะพาน 66 แห่ง ถนนคันคลอง 136.47 กิโลเมตร อาคารประกอบคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำ 645 แห่ง ในจำนวนนี้ได้ทำการติดตั้งระบบ loT (Internet of Things) คลองส่งน้ำ 22 แห่ง และคลองระบายน้ำ 10 แห่ง สำหรับใช้ติดตามควบคุมการส่งน้ำให้มีประสิทธิภาพ แผนการปรับปรุงระบบคลองส่งน้ำและบรรเทาอุทกภัย โดยการก่อสร้างคันกั้นน้ำแม่น้ำท่าจีน รวมความยาว 13.45 กิโลเมตร ปรับปรุงคันคลองระบายใหญ่สามชุก1 และ สุพรรณ3 ความยาว 14.43 กิโลเมตร ขุดคลอกท้องคลองระบายใหญ่และคลองซอยที่สำคัญ ความยาว 207.25 กิโลเมตร และแผนการปรับปรุงแก้มลิงในพื้นที่ 9 แห่ง ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
LINE_ALBUM_โครงการส่งน้ำฯสามชุก 16 ก.ย.67_240920_3
นอกจากนั้น ยังมีแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ อาทิเช่น ส่งเสริมการปลูกข้าวนาปรับเปียกสลับแห้ง ระบบน้ำหยดสำหรับการปลูกอ้อย ระบบสปริงเกอร์สำหรับไม้ผล รวมทั้งแผนการพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน

หากปรับปรุงโครงการแล้วแล้วเสร็จตามแผนงาน คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งจากปัจจุบัน 331,189 ไร่ จะเพิ่มเป็น 490,556 ไร่ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินจาก 109% เป็น 161% ผลประโยชน์ทางด้านการเกษตรเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,083.97 ล้านบาท/ปี พื้นที่น้ำท่วมลดลงจาก 9,580 ไร่ เหลือเพียง 314 ไร่ หรือลดลง 96.72% คิดเป็นมูลค่ากว่า 64.88 ล้านบาท ที่สำคัญครัวเรือนเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 55,120 บาท/ปี เป็น 88,733 บาท/ปี หรือเพิ่มขึ้น 60.98% ต่อปี ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่โครงการให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต” ผคป.สามชุก กล่าวสรุป
S__29179925
ด้านนายคม แจ่มแจ้ง ประธานองค์กรผู้ใช้น้ำ (JMC) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก/ตัวแทนเกษตรกร กล่าวว่า ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในอำเภอสามชุก จำนวน 34 กลุ่ม มีพื้นที่เกษตรกรรม 300,000 กว่าไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนาร้อยละ 80-90 ซึ่งปัญหาหลักคือไม่มีแหล่งน้ำเป็นของตัวเอง ตัองอาศัยน้ำจากแม่น้ำท่าจีน ต้องมีการจัดสรรน้ำให้เพียงพอ ปีนี้น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเมื่อก่อนสามารถทำนาได้ปีละ 2-3 ครั้ง เมื่อกรมชลประทานจะดำเนินการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก จะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ ในเมื่อเราร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ปัญหา สุดท้ายแล้วเกษตรกรก็จะได้รับประโยชน์ โดยเน้นการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และสร้างจิตสำนึกในการช่วยกันดูแลรักษาแหล่งน้ำและใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด


กรมชลฯ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องน้ำ ปัจจุบันนโยบายการมีส่วนร่วมเป็นเรื่องสำคัญมาก ทำให้เกษตรกรรู้ความต้องการใช้น้ำของตนเอง ดังนั้น จึงต้องมีการบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำนาได้ผลผลิตดี หรือทำประมงก็ได้ผลผลิตดี ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น” นายคม กล่าว

ติดต่อเรา

อีเมล์ : water4life2017@gmail.com

โทรศัพท์ : 09 8269 1197 08 6888 1918

ที่อยู่ : 299/3  หมู่บ้านเบล็ส วิลล์ รามอินทรา ซอยพระยาสุเรนทร์ 25 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510

©2024 Copyright, Thaiagritec. All rights reserved.